ทำสัญญาขายฝาก มีรูปแบบอะไรบ้าง
ทำสัญญาขายฝาก มีรูปแบบหลายประเภท
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของทรัพย์ที่ลูกหนี้ที่ได้นำทรัพย์สินมาขายฝากไ
ว้ให้กับผู้รับขายฝาก ซึ่งก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท
มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
ทำสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์
การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ครอบคลุมถึงอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท
ได้แก่ ที่ดิน บ้าน คอนโด อพาร์ทเมนท์ ทาวโฮม โกดัง ฯลฯ
ในการทำสัญญาเพื่อทำธุรกรรมจึงจำเป็นต้องทำออกมาเป็นหนังสือและ
ต้องเข้าไปขอทำการจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่ดิน ต้องไปทำการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
ถ้าเป็นบ้านก็ต้องจดทะเบียนต่อที่ว่าการอำเภอ ณ ที่บ้านนั้นตั้งอยู่
กรณีหากไม่ทำตามนี้แล้ว
จะถือว่าสัญญาขายฝากนี้เสียเปล่าเป็นอันใช้ไม่ได้ แล้วเท่ากับว่า
สัญญานั้นไม่ได้เกิดขึ้น
ตัวอย่าง นาย A ต้องการ ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน ให้กับนาย B
ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องทำสัญญาขายฝากบ้านและจดทะเบียนต่อเจ้าพ
นักงาน ณ กรมที่ดิน
ไม่เช่นนั้นจะถือว่าการสัญญาขายฝากนี้ไม่ได้เกิดขึ้น
และไม่สามารถใช้ดำเนินการทางกฎหมายในภายหลังหากเกิดปัญหาได้
ข้อสำคัญก็คือ การทำสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์
จะต้องดำเนินการ จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดิน ทุกครั้ง
ไม่เช่นนั้นจะถือว่านำไปบังคับใช้ไม่ได้
สังหาทรัพย์ชนิดพิเศษ
ในกรณีของการขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้แก่
ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้
ซึ่งในทางกฎหมายจะกำหนดไว้เป็นพิเศษว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและจ
ดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ตัวอย่างเช่น เรือยนต์ สัตว์พาหนะ ไม่ว่าจะเป็น
วัว ควาย เป็นต้น
ในกรณีการทำสัญญาเพื่อขายฝากทรัพย์สินประเภทนี้
จำเป็นต้องไปทำสัญญาเป็นหนังสือและไปจดทะเบียนที่อำเภอ
ถ้าหากว่าไม่ทำตามนี้
จะถือว่าสัญญาขายฝากไม่สามารถบังคับใช้ได้เช่นกัน
อสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา
กรณีของการขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา ได้แก่
ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้แต่กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าต้องทำเป็นหนัง
สือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องมีราคาตั้งแต่ 500
บาทขึ้นไป ทรัพย์กลุ่มนี้ที่เข้าข่ายและนิยมนำมาขายฝากกันก็คือ
รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ
ส่วนกรณีที่เป็นทรัพย์สินอื่นๆที่อยู่ติดของบุคคล เช่น นาฬิกาข้อมือ
ตู้เย็น สร้อยคอ แหวนเพชร โทรทัศน์ ฯลฯ ในการขายฝากประเภทนี้
จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรื
อต้องมีการวางมัดจำหรือจำต้องมีการชำระหนี้บางส่วน
หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ทั้งนี้ถ้าไม่ทำตามนี้แล้วในทางกฎหมายจะถือว่าสัญญาขายฝากรายนี้ห้
ามไม่ให้มีการฟ้องบังคับคดีนั่นเอง
ดังนั้นต้องพิจารณาด้วยว่า
ทรัพย์ที่จะนำขายฝากของเราเป็นทรัพย์ประเภทใดบ้าง