หนี้นอกระบบกับการจำนองแตกต่างกันอย่างไร

หนี้นอกระบบกับการจำนอง แตกต่างอย่างไร?

เรื่องการเงินเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  และหลายๆ ครั้ง โอกาสทางธุรกิจที่ เข้ามา แต่ถ้าเรื่องของการเงินเราไม่พร้อม ก็อาจจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญนั้นไปได้ การหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและปลอดภัย ในระยะเวลาเร่งด่วน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก 

เพราะการยื่นสินเชื่อธนาคาร นอกจากจะตรวจสอบประวัติต่างๆ และมีเอกสารที่ต้องประกอบการยื่นอนุมัติที่เยอะแยะแล้ว ธนาคารยังใช้เวลาประเมิน ตลอดไปจนถึงขั้นตอนการอนุมัติ ที่อาจจะใช้เวลามากกว่า 2 สัปดาห์เลยด้วยซ้ำ

หลายๆ ครั้งที่เราจะหันไปพึ่งแหล่งเงินทุนด่วน อย่างเช่น “หนี้นอกระบบ” เพราะได้เงินไว ทันใจแต่ก็มีอีกธุรกรรม ที่สามารถเปลี่ยนทรัพย์สิน เป็นเงินทุนได้ไวเช่นกัน นั่นก็คือการทำ ”ขายฝาก” และ “จำนอง” จากแหล่งเงินทุนเอกชน

วันนี้เราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “หนี้นอกระบบ” และเปรียบเทียบกับ “การขายฝาก” และ “การจำนอง” ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรกันบ้าง

 

หนี้นอกระบบ

หนี้นอกระบบ คือการกู้ยืมเงินจากแหล่งที่ไม่ได้รับการควบคุมโดยกฎหมาย เช่น จากนายทุนที่ไม่ได้จดทะเบียน การกู้ยืมในลักษณะนี้มักจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงและเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาทางการเงินที่รุนแรงได้

ข้อดี:

  • ได้รับเงินเร็ว ไม่ต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายหรือเอกสารที่ยุ่งยาก
  • ไม่ตรวจสอบเอกสารผู้กู้
  • ไม่ตรวจสอบประวัติการชำระเงิน

ข้อเสีย:

  • อัตราดอกเบี้ยสูงมาก
  • ความเสี่ยงในการถูกทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรม
  • ไม่มีการคุ้มครองจากกฎหมาย

การขายฝาก

การขายฝาก คือการขายทรัพย์สิน (ในที่นี้เราจะหมายถึง อสังหาริมทรัพย์) ให้กับผู้ซื้อ (นายทุนเอกชน)โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายสามารถซื้อคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่สามารถซื้อคืนได้ภายในเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อ

ข้อดี:

  • สามารถได้รับเงินทุนอย่างรวดเร็ว
  • ยังมีโอกาสที่จะได้ทรัพย์สินกลับคืนมา
  • ไม่ตรวจสอบเอกสารผู้กู้
  • ไม่ตรวจสอบประวัติการชำระเงิน
  • ทำธุรกรรมถูกต้องตามกฎหมายที่สำนักงานที่ดิน
  • ดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมายกำหนด (ไม่เกิน 15% ต่อปี)

ข้อเสีย:

  • ต้องเสี่ยงต่อการเสียทรัพย์สินถ้าไม่สามารถซื้อคืนได้ในเวลาที่กำหนด
  • หากเจอผู้ซื้อ (นายทุนเอกชน) ที่ตั้งใจจะยึดทรัพย์สิน อาจจะเสียทรัพย์สินนั้นได้

การจำนอง

การจำนอง คือการนำทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน (ในที่นี้เราจะหมายถึง อสังหาริมทรัพย์) โดยที่ผู้กู้ยังคงถือครองทรัพย์สินนั้นอยู่ แต่ถ้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ผู้ให้กู้มีสิทธิ์ที่จะนำทรัพย์สินไปขายเพื่อชำระหนี้

ข้อดี:

  • อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเมื่อเทียบกับหนี้นอกระบบ
  • สามารถได้รับเงินทุนอย่างรวดเร็ว
  • ไม่ตรวจสอบเอกสารผู้กู้
  • ไม่ตรวจสอบประวัติการชำระเงิน
  • ทำธุรกรรมถูกต้องตามกฎหมายที่สำนักงานที่ดิน
  • ดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมายกำหนด (ไม่เกิน 15% ต่อปี)

ข้อเสีย:

  • หากเป็นทุนเอกชน ยอดอนุมัติวงเงินจะน้อยกว่าการทำขายฝาก
  • ต้องมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าเป็นหลักประกัน

การเลือกวิธีการหาแหล่งเงินทุนควรพิจารณาตามสถานการณ์และความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเอง หนี้นอกระบบอาจเป็นทางเลือกที่รวดเร็วแต่มีความเสี่ยงสูง ขณะที่การขายฝากและจำนองเป็นวิธีที่มีการคุ้มครองทางกฎหมายและมีความปลอดภัยมากกว่า การตัดสินใจเลือกวิธีการใดนั้นควรพิจารณาให้รอบคอบเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต

บทความอื่นๆของเรา